ประวัติโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาท่าบม (๑) โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาท่าบม ตั้งอยู่ที่หมู่ ๘
ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มีเนื้อที่ทั้งหมด ๘ ไร่ ๓ งาน ๘๗ ตารางวา
เป็นโรงเรียนนิติบุคคล มูลนิธิคาทอลิกสงเคราะห์ในเครือมหาไถ่ศึกษาสังฆมณฑลอุดรธานี
ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการศึกษา มูลนิธิคาทอลิกสงเคราะห์อุดรธานี
บาทหลวงแฮรี่ ทีล
นักบวชชายคณะพระสงฆ์มหาไถ่แห่งประเทศไทย นิกายโรมัน คาทอลิก
เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบ จากพระสังฆราช คาเรนส์ เจ ดูฮาร์ด
ประมุขผู้ดูแลศาสนจักรคาทอลิกประจำเขตสังฆมณฑลอุดรธานี บาทหลวงแฮรี่ ทีล
ได้ประสานงานกับหน่วยงานราชการในด้านการขออนุญาตจัดตั้ง ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๘
และได้รับอนุญาตจัดตั้งเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ พระสังฆราชยอร์ชยอด พิมพิสาร ได้มอบอำนาจให้ บาทหลวงวีระพงษ์ วัชราทิพย์
เป็นเจ้าของ นายสมัย วงศ์อนันต์
เป็นครูใหญ่และผู้จัดการ วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งโรงเรียนครั้งแรก
เพื่อช่วยเหลือนักเรียนยากจนในชุมชนให้มีโอกาสเรียนหนังสือเท่าเทียมกับเด็กอื่น ๆ อาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคารเรียนไม้
๒ ชั้น ๑ หลัง เปิดรับนักเรียนตั้งแต่อายุ ๕-๑๕ ปี
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดอัครเทวดาราฟาแอล บ้านท่าบม ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน
จังหวัดเลย
กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้เปิดทำการสอนได้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม
๒๕๐๘ เป็นต้นไป
โดยอนุมัติของกระทรวงศึกษาธิการ อยู่ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ และดำเนินการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนด
ในการดำเนินกิจการโรงเรียนโดยอาศัยเงินสนับสนุนจากมูลนิธิของคณะนักบวช คณะพระมหาไถ่สังฆมณฑลอุดรธานี ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย การริเริ่มก่อตั้ง
เป็นความคิดของคุณพ่อเจ้าอาวาส บาทหลวงแฮรี่โดยความเห็นชอบของพระสังฆราช คา เรนท์เจ
ดูฮาร์ดประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี ได้ออกแบบแปลนสร้างอาคารเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น
แบ่งเป็น ๔ ห้องเรียนการ
ก่อสร้างเสร็จสิ้นเมื่อเดือน สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๐๘ โรงเรียนเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๐๘ กระทรวงได้ อนุมัติให้
บาทหลวงวีระพงษ์ วัชราทิตย์
เป็นเจ้าของผู้จัดการครูใหญ่คือนายสมัย
วงศ์อนันต์ เปิดสอนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ ครูบรรจุครั้งแรก ๓ คน คือ ๑. นายประภาส ยวนยี ๒. นางนงคราญ งามวงศ์ ๓. นางหนูคำ เรืองวิเศษ ในปีการศึกษา ๒๕๓๘
ได้ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิมชื่อ“โรงเรียนมารดาพิทักษ์ วิทยา” เป็น “โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาท่าบม”
ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน
๒๕๓๘ ตามใบอนุญาตเลขที่ ๖๓/๒๕๓๘
และขออนุญาตใช้อักษรชื่อโรงเรียนคือ “ ม.ถ.ท.” ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม
๒๕๓๘ เป็นต้นมา และในปีการศึกษา ๒๕๔๐ ขออนุญาตใช้รูปตราโรงเรียนใหม่
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐ (http://haab.catholic.or.th/story%20the%20past/biography/clarence_j_duhart_.html)
ประวัติโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาท่าบม (๒) โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาท่าบม เป็นโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีชื่อเดิมว่า โรงเรียนมารดาพิทักษ์วิทยา ตั้งอยู่ในบริเวณวัดคาทอลิกบ้านท่าบม ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ได้รับอนุมัติให้เปิดทำการสอนตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2508 เป็นต้นมา ขณะนั้นรับนักเรียนเข้าเรียน อายุ 5 -14 ปี ทั้งชายและหญิงเปิดการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 การดำเนินงานของโรงเรียนอยู่ได้ด้วยเงินช่วยเหลือจากมูลนิธิของนักบวชคณะพระมหาไถ่ สังฆมลฑลอุดรธานี โดยการเก็บค่าเล่าเรียนครั้งแรก ครอบครัวละ 20 บาทต่อปี ถ้าครอบครัวใดมี 2 – 3 คน ขึ้นไปก็เสียค่าบำรุ่งเท่ากัน ในขณะนั้นผู้ที่ก่อตั้งโรงเรียนครั้งแรกคือ คุณพ่อพ่อแฮรี่ ทีล ซึ่งในขณะนั้นมีจิตรารมณ์ในการจัดตั้งโรงเรียนเพื่ออบรมลูกหลานชาวคริสต์ชนทั้งหลายท่านต้องฝ่าอุปสรรค์ต่างๆนานับประการถูกล่าวหาไปในทางที่ไม่ดีมากมายสิ่งที่จะทำให้ลูกหลานคริสต์ชนยืนหยัดในความดีและความถูกต้องคือการศึกษา ดังนั้นท่านได้อุทิตตนเพื่อดูแลเอาใจใส่นักเรียนตลอดเวลาที่ท่านดำรงอยู่ และได้แต่งตั้ง นายสมัย วงศ์อนันต์เป็นผู้จัดการครูที่เข้าบรรจุครั้งแรก 3 คน 1. นายประภาส ยวนยี 2. นางสาวนงคราญ นามวงศ์ 3. นางสาวหนูเล็ก เรืองวิเศษ โดยมีปรัชญของโรงเรียนที่ว่า การเรียนดีกีฬาเด่นเน้นคุณธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสงเคราะห์การศึกษาแก่ครอบครัวนักเรียนที่ยากจนในหมู่บ้านท่าบมและหมู่บ้านไกล้เคียง 2. ปลูกฝังความประพฤติและความมีระเบียบ 3. ส่งเสริมให้เด็กเรียนและศึกษาต่อเพื่อประกอบอาชีพได้ หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509)พระสงฆ์มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนโดยมีคุณพ่อ โทนี มาดำรงตำแหน่งแทนท่านได้พัฒนาด้านการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น โดยเพิ่มเติมอุปกรณ์การเรียน การกีฬา พัฒนาอาคารสถานที่ให้ใหญ่กว่าเดิม ต่อมาในปี ค.ศ. 1969 มีคุณพ่อมิลเลอร์ เข้ามาดูแลกิจกรของโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้าโดยมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ต่อจากนั้นได้มีพระสงฆ์ไทยได้เข้ามาดูแลโรงเรียนต่อใน ค.ศ. 1974 คือคุณพ่อไพโรจน์ สมงาม ท่านได้เข้ามาดูแลทั้งงานวัดและโรงเรียนโดยได้สร้างหอระฆังวัดและพัฒนาอาคารสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียน ต่อมาในปี ค.ศ. 1976 มีคุณพ่อไมเคิล เช มาดำรงตำแหน่งแทนโดยมี พระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร (พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลอุดรธานี) เป็นเจ้าของดรงเรียนตามใบอนุญาตที่ 52/2522 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 แต่เนื่องจากท่านมีหน้าที่ที่ต้องทำหลายอย่างตลอดจนอยู่ไกลที่ตั้งของโรงเรียนจึงไม่สะดวกแก่การดูและจำมอบหมายให้นายประสาท บุดดา ทำหน้าที่แทน และในปี ค.ศ. 1978 มีโครงการสงเคราะห์เด็กยากจน (ซี ซี เอฟ) เป็นโครงการสงเคราะห์นักเรียนยากจนโดยการเลี้ยงอาหารกลางวัน สนับสนุนอุปกรณ์การเรียน เสื้อผ้า สมุด ดินสอ ในเวลานั่นเองกระทรวงศึกษาธิการได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่เรียกว่า “หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521” หลังจากนั้นก็มีคุณพ่อคณะพระมหาไถ่ได้สลับสับเปลี่ยนมาเรื่อย ๆเป็นระยะเวลาสั้น ๆ จนเมื่อปี ค.ศ. 1982 ได้มีคุณพ่อฟรังซัว เปรอน (OMI)ท่านได้เข้ามารับตำแหน่งดูแลกิจการของวัดและโรงเรียนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นโดยเฉพาะเรื่องไฟฟ้าและปะปาหมู่บ้าน โดยท่านได้สำรวจแหล่งน้ำในชุมชนพบว่ามีน้ำตกหนึ่งแห่อยู่ไม่ใกลนักควรที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ท่านจึงได้ชักชวนชาวบ้านคณะครูนักเรียนเสียสละทั้งด้านแรงกาย แรงใจ และกำลังทรัพย์ร่วมกันทำประปาหมู่บ้านจนสำเร็จ และท่านยังได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาไว้สั้น ๆ กับครูเป็นภาษา อีสานว่า “ท่าพวกเจ้าอยากให้โรงเรียนอยู่ได้พวกเจ้าต้องซ่อยกันเพิงให้ดี ท่าอยากให้มันพังกะป่อยไปบ่ต้องสนใจ” และในปี ค.ศ. 1993 โรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์งบประมาณสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น จำนวน 8 ห้องเรียน จากโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก กรุงเทพ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล สามเสน และผู้ศรัทธาอีกหลายท่านนำโดย บราเดอร์ วิจารณ์ ทรงเสี่ยงชัย คณะเซนต์คาเบรียล และได้ตั้งชื่อว่า อาคารเซนต์คาเบียลในขณะนั้นมีจำนวนนักเรียน 295 คน ครู 12 คน คุณพ่อฟรังซัว เปรอนท่านได้อุทิตตนเพื่อหมู่บ้านและเพื่อโรงเรียนเป็นระยะเวลา 12 ปี คือตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 – 1995 หลังจากนั้นก็มีคุณพ่อบัวทอง บุญทอด ได้เข้ามารับตำแหน่งต่อเพื่อให้การศึกษาได้ขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้นทั้งในเขตชุมชนและชุมชนใกล้เคียงอื่นๆได้มีโอกาสมาศึกษาเล่าเรียนจึงได้จัดรถรับส่งนักเรียนจึงทำไห้มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นและโรงเรียนเริ่มมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากโรงเรียนมารดาพิทักษ์วิทยา มาเป็นโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาท่าบมหลังจากนั้นก็มีพระสงฆ์มาดูและทั้งวัดและโรงเรียนตามลำดับ ปี ค.ศ. 1997 – 1998 คุณพ่อปรีชา โอนากุล ปี ค.ศ. 1998 – 1999 คุณพ่อบัวทอง บุญทอด ปี ค.ศ. 1999-2002คุณพ่อประสิทธิ์ ไกรโหล ปี ค.ศ. 2002-2005 คุณพ่อวิชัย อ้วนยินดี หลังจากนั้นใน ปี ค.ศ. 2005 ทางสังฆมณฑลอุดรธานีได้ให้โรงเรียนเซนต์จอห์นกรุงเทพเข้ามาดูแลกิจการของโรงเรียนโดยมีซิสเตอร์จากคณะอัสสัมชัญ เข้ามาดูแลซึ่งอาศัยจิตรารมณ์ของคุณแม่มารียูกีนีในการบริหารจัดการ มีการอบรมทั้งครูและนักเรียนในด้านคุณธรรม จริยธรรมต่างๆ เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อยู่มีความสุข จนมาถึงปี ค.ศ. 2007 หลังจากนั้นทางสังฆมณฑลจึงได้ให้พระสงฆ์เข้ามาดูแลในปี ค.ศ. 2012 มีคุณพ่อประวัติ ญวนเหนือ ซึ่งท่าได้มาจัดระบบองค์กรและระบบเอกสารต่างๆ ให้เป็นระเบียบและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นทำให้โรงเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากเป็นที่ยอมรับจากนั้นในปี ค.ศ. 2013 จนถึงปัจจุบัน คุพ่อ พัฒนา อุปการ ดำรงตำแหน่งผู้แทนผู้รับใบอนุญาต / ผู้จัดการ ได้มีการปรับปรุงอาคารสถานที่เพื่อให้น่าเรียนน่าอยู่และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและทั้งนี้ก็พยายามจัดรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้ทันต่อการปรับเปลี่ยนของเด็กยุคใหม่ และยังสร้างความสัมพันธ์อันดีงามระหว่าง วัด บ้าน และโรงเรียน เพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และสนับสนุนส่งเสริมกรรมทางศาสนา และที่สำคัญที่สุดคือสั่งสอนให้นักเรียนเป็นสู่เป้าหมายสูงสุดของโรงเรียน ก้าวหน้าเสมอ ด้วยความรู้ คู่คุณธรรม (ข้อมูลเพิ่มเติม จาก https://sites.google.com/site/mahathaithabom/prawati-rongreiyn) |
|